วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

เที่ยวอุบล นมัสการพระเจ้าใหญ่อินแปลง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง

คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หากเราไปจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ถ้าไม่ไปได้นมัสการ หรือ ไปดูสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้นๆ ก็แสดงว่ามาไม่ถึง เช่นเดียวกัน จังหวัดอุบลราชธานี มีพระพุทธรูป ที่สำคัญหลากหลายองค์ ไม่ว่าพระแก้วบุศราคำ พระเจ้าใหญ่องค์หลวง และ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปลักษณะ ทรงลาว เป็นพระพุทธเก่าแก มากองค์หนึ่งของเมืองอุบลราชธานี ผู้คนให้ความเคารพ เลื่อมใส ไม่ว่าจะเป็นในสถานที่ นอกสถานที่ ศรัทธาเหล่านั้นก็ต่างมารวมตัวกันที่วัดมหาวนาราม หรือ วัดพระเจ้าใหญ่อินแปลงที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีนั้นเอง 

ส่วนการทำบุญกับพระเจ้าใหญ่อินแปลงที่ชาวบ้านนิยมคือ การถวายดอกบัวตูม ธูป และเทียน พร้อมลงรักปิดทองที่ตัวองค์พระ และถวายสังฆทาน แต่เนื่องจากอุโบสถที่ใช้ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินแปลงเริ่มคับแคบ เพื่อลดความแออัดในการเข้าไปกราบนมัสการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งมักมีประชาชนจากทั่วสารทิศพากันมากราบไหว้จำนวนมาก วัดได้จัดทำรูปองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลงจำลองที่หน้าทางขึ้นอุโบสถ โดยประชาชนที่มากราบไหว้นมัสการขอพร สามารถเลือกที่จะเข้าไปกราบพระเจ้าใหญ่อินแปลงในอุโบสถ หรือเลือกกราบองค์พระจำลองที่สร้างไว้บริเวณทางขึ้นหน้าอุโบสถก็สามารถทำได้

สำหรับใครที่ยังไม่มีโปรแกรมท่องเที่ยว ในเดือนนี้ ก็สามารถลองไปนมัสการพระเจ้าใหญ่อินแปลงดูนะครับ ท่านอาจจะได้โชค หรือ ความสบายใจมากขึ้นก็ได้

ฆ้อง บ้านทรายมูล เอกลักษณ์ ของชุมชน

ฆ้องเป็นสิ่งที่หลายๆคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดี และ การตีฆ้องตามงานพิธี เสียงอันไพเราะ ของฆ้อง เป็นที่น่าจดจำ และ ทำให้เกิดศรัทธามากมาย และนอกเหนืออื่นไม่ได้เลย คือ ฆ้องจากบ้านทรายมูล อำพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีความโด่งดัง ของการทำฆ้องอย่างมากมาย เพรา ชาวบ้านที่นี่ได้ทำฆ้องกันมาหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพ ขนาด บ้านทรายมูล ไม่แพ้ใครในประเทศเลยก็ว่าได้
ความเป็นมาของบ้านทรายมูล
เดิมคนมาจากบ้านกุดลาด จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านหาดทรายมูลจำนวน 4-5 ครัวเรือน ประมาณ 120 ปี และได้ตั้งบ้านเรือนโดยตั้งชื่อว่าบ้านทรายมูล คำว่าบ้านทรายมูลเพราะว่ามีหาดทรายจากการตกตะกอนของทรายที่ไหลผ่านแม่น้ำมูลอยู่กลางลำน้ำแม่มูลจึงตั้งชื่อว่าหาดทรายมูล เอกลักษณ์ในการทำคือ การตีแบบฆ้องด้วยมือ ไม่ใช้วิธีหล่อแบบเหมือนที่อื่นๆ และการทำกลองเพลด้วยไม้ขนาดใหญ่ ที่ได้มาจากต้นไม้ที่จมอยู่ในผืนน้ำใต้เขื่อนสิรินธร ฆ้องทองเหลือง และกลองเพลขนาดใหญ่นี้ นายบุญรักษ์ และชาวบ้าน ได้ร่วมกันทำขึ้นแล้วนำส่งขายไปทั่วประเทศ และยังส่งขายไปต่างประเทศอีกด้วย
ฆ้องสามารถ สร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านทรายมูล อย่างมหาศาล และ ยังคงดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ของพวกเขาไว้อย่างมั่นคงอีกด้วย
ใครได้ไปเยี่ยมชนฆ้อง ทรายมูล ก็อย่าลืมแวะไปอุดหนุนพวกเขาหน่อยนะครับ เพราะของบ้านเรา ช่วยกัน อุดหนุน จะได้ ไม่สาบสูย จากแผ่นดิน  

หากท่านต้องการชมกรรมวิธีการทำ หรือ สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0-1967-4291, 0-4531-8181
สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงนะครับ

ประเพณีเทียนพรรษา ความงามของเมืองอุบล

ความศรัทธาที่ั่นคงในพระพุทธศาสนา ก่อเกิดประเพณีอันล้ำค่าของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่โด่งดังไปทั่วประเทศ และ ทั่วโลก เป็นแห่งแรกก็ว่าใน ที่มีการแกะสลัก และ แห่เทียนพรรษาเพื่อมาประกวด ประชัน ความงดงาม ของแต่ละคุ้ม วัด แต่ละอำเภอ ความสวยงามของเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี หาท่ใดจะเปรียบได้ยาก พูดง่ายๆ หาตัวจับยาก แต่ทุกวันนี้มีหลากหลายจังหวัดที่ได้ นำเอาประเพณีของเทียนพรรษาของอุบลไปใช้ในจังหวัดตัวเอง แต่เราไม่ว่ากัน งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
จัดให้มีขึ้นทุกปี งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี
นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนา อย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ แล้ว ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก บรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ ที่มีอยู๋มากมายหลายสาขา และผลิตงานด้านศิลปอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ ทดลอง และประลองฝีมีเชิงช่าง โดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี จึงสามารถชื่นชม และศึกษากิจกรรมของงาน ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมืองอุบลอย่างเหนียวแน่น

ขอบคุณข้อมูล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัดป่าพง แห่งรวมศรัทธาที่ยิ่งใหญ่

วัดป่าพง แห่งรวมศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ ถ้าหากมาอุบล พูดถึงเรื่องการปฏิบัติธรรม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ต้องนึงถึงวัดป่าพง และ ยิ่งกว่านั้นก็คือบูรพาจารย์ หลวงปู่ชา อันเป็นที่เคารพนับถือ ของประชาชนคนอุบล และ นานาชาติเป็นอย่างมาก ความสงบร่มเย็น ชวน ปฏิบัติธรรม ของวัดแห่งนี้ จะเป็นอีกจุดหนึ่ง ที่หลายๆท่านจะได้มาพักผ่อนทางจิตใจ อย่างมากมายเลยทีเดียว เราไปดูประวัติและที่ตั้งวัดป่าพงกันดีกว่า ว่าเป็นมาอย่างไร
วัดหนองป่าพง เป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นสำนักปฎิบัติธรรมที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันสงบเงียบ มีบรรยากาศอันร่มรื่น เหมาะแก่การปฎิบัติธรรม สร้างโดยหลวงพ่อชา สุภทฺโท หรือ พระโพธิญาณเถระ 

จุดตั้งต้นของวัดป่าพง เริ่มต้นขึ้นเมื่อเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 (ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ) พระโพธิญาณเถระ(ชา สุภัทโธ) ท่านได้เดินธุดงค์มาถึง วัดนองป่าพงแห่งนี้ พร้อมด้วยลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง เมื่อมาถึงท่านก็ได้ทำการปักกลดเรียงรายอยู่ตามชายป่าประมาณ 5-6 แห่ง และเดิมที่นั้นเคยเป็นวัดร้างมาก่อน และป่าช้า สภาพทั่วไปนั้นเป็นหนองน้ำ มีต้น "พง"ขึ้นอยู่ทั่วไป จึงเรียกป่าบริเวณแถบนี้ว่า "หนองป่าพง" โดยระยะแรกๆ หลวง ปู่ชา สุภัทโธ และลูกศิษย์ต้องต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกับไข้ป่า ซึ่งขณะนั้นชุกชุมมาก เพราะเป็นป่าทึบ ยามพระเณรป่วย หายารักษายาก ต้องต้มบอระเพ็ดฉันพอประทังไปตามมีตามเกิด โดยที่ท่านไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากผู้อุปฐากเลย เพราะว่า ท่านต้องการให้ผู้ที่มา พบเห็นด้วยตา แล้วเกิดความเลื่อมใสด้วยตัวเองอย่างมั่นคง ในพระพุทธศาสนา 

เห็นไหมละครับ วัดป่าพง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหลายๆท่านเลยทีเดียว ผมอยากจะแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย แต่วันนี้ขอจบการแนะนำเพียงเท่านี้ หากท่านมีข้อสงสัย ก็กระทู้มาโต้ตอบกันได้

ปะอาว หมู่บ้านทองเหลืองโบราณ ของจังหวัดอุบลราชธานี

ปะอาว หมู่บ้านทองเหลืองโบราณ ของจังหวัดอุบลราชธานี
ลวดลายเครื่องทองเหลือง หลากหลายรูปแบบ สวยงามอย่างธรรมชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ ของชุมชนบ้านปะอาว สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ที่ผูกพันธ์ กับ ทองเหลือง มาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นมรดกจากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนเพื่อให้รุ่นลูกหลาน คงอนุรักษ์ไว้ อย่ามั่นคง
บ้านปะอาว ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นับว่าเป็นอีกหมู่บ้านที่มีขนาดครัวเรือนใหญ่จำนวนถึง 400 ครอบครัว ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีไปตามทางหลวงสายอุบลราชธานี-ยโสธร ประมาณ 17 กิโลเมตร และมีทางแยกจากถนนใหญ่ด้านขวามือถึงบ้านปะอาวประมาณ 3 กิโลเมตร ตามประวัติของหมู่บ้านได้รับคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า บรรพบุรุษแรก ๆ อพยพมาจากจังหวัดหนองบัวลำภูนานกว่า 260 ปี มาแล้ว อาชีพช่างฝีมือชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านปะอาวคือ การหล่อเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยทองเหลือง ซึ่งพวกช่างได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ



ข้อมูลแผนที่ข้อมูลแผนที่ ©2013 Google, Tele Atlas - ข้อกำหนดในการใช้งาน
ข้อมูลแผนที่
ข้อมูลแผนที่ ©2013 Google, Tele Atlas
ข้อมูลแผนที่ ©2013 Google, Tele Atlas
แผนที่


ดาวเทียม


แหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน มีดังนี้ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อผลิตภัณฑ์ทองเหลืองโบราณ การอนุรักษ์สิ่งของล้ำค่าของชุมชน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ป่าท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (สวนสัตว์เปิด) ผลิตภัณฑ์ OTOP การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ และทอผ้าไหม ด้านวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน หมู่บ้านโฮมสเตย์ วิถีชีวิตของชุมชน และเครื่องทองเหลืองอันล้ำค่า ของชุมชนปะอาวแห่งนี้ แม้ว่าปะอาวในวันนี้ จะเปลี่ยนแปลง ตามยุค ตามสมัยบ้าง แต่ยังคงความเป็นตัวตน ของพวกเขาไว้อย่างเหนียวแน่น ถ้าหากท่านอยากชม ก็สามารถเดินทางได้อย่างสบายแน่นอน
แหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน มีดังนี้ 
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อผลิตภัณฑ์ทองเหลืองโบราณ 
การอนุรักษ์สิ่งของล้ำค่าของชุมชน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 
ป่าท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (สวนสัตว์เปิด) ผลิตภัณฑ์ OTOP 
การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ และทอผ้าไหม 
ด้านวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน 
หมู่บ้านโฮมสเตย์ วิถีชีวิตของชุมชน และเครื่องทองเหลืองอันล้ำค่า ของชุมชนปะอาวแห่งนี้ แม้ว่าปะอาวในวันนี้ จะเปลี่ยนแปลง ตามยุค ตามสมัยบ้าง แต่ยังคงความเป็นตัวตน ของพวกเขาไว้อย่างเหนียวแน่น ถ้าหากท่านอยากชม ก็สามารถเดินทางได้อย่างสบายแน่นอน

เทศกาลเทียนนานาชาติ ubon wax festival ความงามของเทียนต่างประเทศ

เทศกาลเทียนนานาชาติ ubon wax festival ความงามของเทียนต่างประเทศ

สุดยอดเทศกาลเทียนนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ของจังหวัดอุบลราชธานี จากฝีมือของจากศิลปิน 9 ชาติ ที่มารวมตัวกัน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งแต่ละชาติ จะงัดความโด่ดเด่นของตัวเอง อย่างเช่นปี 2555 ที่ผ่านมา เช่น

1. Mr. Om khattri ศิลปินจากประเทศเนปาล ผลงานการแกะสลัก คือ ความสงบ
2. Mr. Surachart Palasak ศิลปินจากประเทศไทย ผลงานที่แกะสลัก คือ ความงอกงามแห่งศรัทธา
3. Mr. Oleksandr Matsiuk ศิลปินจากประเทศยูเครน ผลงานการแกะสลัก คือ สตรีกับตะวัน
4. Mr. Ayla Turan ศิลปินจากประเทศตุรกี ผลงานการแกะสลัก คือ หอคอยลึกลับ
5. Mr. Hou Lien Chin ศิลปินจากประเทศไต้หวัน ผลงานการแกะสลัก คือ ซับซ้อน 1
6. Miss Susanne Paucker ศิลปินจากประเทศเยอรมันนี ผลงานการแกะสลัก คือ แปลงร่าง
7. Mr. Bogdan Adrian Lefter ศิลปินจากประเทศโรมาเนีย ผลงานการแกะสลัก คือ ดวงดาวแห่งชีวิต 8. Mr. Fabian Rucco ศิลปินจากประเทศอาเจนติน่า ผลงานการแกะสลัก คือ บินอย่างไร
9. Mr. Yoshinori Ishihara ศิลปินจากประเทศญี่ปุ่น ผลงานการแกะสลัก คือ ฟุโดเมียวโอ หรือ พระอจลนาถ

และยังมีกิจกรรมมากมาย ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี ที่ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้มาสัมผัสความงดงามของเทียนนานาชาติ พร้อมทั้ง ชุมชนเทียน ของจังหวัดอุบลราชธานี
ความงดงามของเทียนนานาชาติ จากฝีมือของบรรดาศิลปินที่คัดสรรค์ เพื่องานนี้โดยเฉพาะ 
ท่านสามารถรับชม การต้อนรับ ศิลปิน 9 ประเภทตามลิงค์ด้านล่างนี้

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัดทุ่งศรีเมือง สถานที่ศักดิ์แห่งรวมธรรมะ ที่สำคัญของเมืองอุบล


 วัดแห่งประวัติศาสตร์ แห่งรวมครูบาอาจารย์ เป็นวัดที่ตั้งอยู๋ ใจกลางเมืองอุบลราชธานี คงจะหนีไม่พ้น นั้นก็คือวัดทุ่งศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ทางทิศตะวันออกของ ทุ่งศรีเมือง ใกล้กับสถานที่ราชการ คือ ไปรษณีย์โทรเลข สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี  ภายใต้เนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวาสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้นเอง


ผู้สร้างวัดทุ่งศรีเมืองคือ เจ้าคุณพระอริยาวงศาจารย์ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) แห่งวัดป่าแก้วมณีวัน (คือวัดมณีวนาราม หรือวัดป่าน้อยในปัจจุบัน) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์เมืองอุบลราชธานี ท่านมีอัธยาศัยน้อมไปทางวิปัสสนากรรมมัฎฐาน แต่เดิมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ต่อมาได้มา เจริญสมณธรรม อยู่ที่ป่าหว้าชายดงอู่ผึ้ง เพราะเป็นที่สงบสงัด ที่นั่นคือ บริเวณวัดทุ่งศรีเมืองในปัจจุบันนั้นเอง
 

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดมีดังต่อไปนี้ 1. พระอุโบสถ หรือหอพระพุทธบาท 2. หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง หอไตรหลังนี้จึงจัดได้ว่าเป็นหอไตรที่สวยงามและสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ที่สำคัญหอไตรกลางน้ำหลังนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมงกุฎราชกุมารี อีกด้วย 3. “พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง” ท่านอย่าลืมไปรับชม ความงดงาม ภายในวัดทุ่งศรีเมืองนะครับ เพราะเป็นสถานที่สำคัญของเมืองอุบลอีกสถานที่หนึ่งก็ว่าได้